Search
Close this search box.

คณิตศาสตร์ทฤษฎีและการวิเคราะห์

คำอธิบาย

นักวิจัยในสาขาคณิตศาสตร์ทฤษฎีและการวิเคราะห์ มักสนใจรูปแบบและโครงสร้างทางคณิตศาสตร์ต่างๆ ที่ปรากฏขึ้น ศึกษา ทำความเข้าใจ และสร้างทฤษฎีเพื่อรองรับรูปแบบและโครงสร้างเหล่านั้น ผลวิจัยในสาขาคณิตศาสตร์บริสุทธิ์เป็นพื้นฐานสำหรับการวิจัยสาขาอื่นๆ เช่น คณิตศาสตร์เชิงประยุกต์ สถิติศาสตร์ รวมถึงวิทยาการคอมพิวเตอร์และฟิสิกส์

ประเด็นวิจัย

การวิเคราะห์เป็นสาขาย่อยในกลุ่มวิจัยคณิตศาสตร์ที่ศึกษาเกี่ยวกับความต่อเนื่อง (continuity) การหาอนุพันธ์ (differentiation) และการหาปริพันธ์ (integration) ซึ่งเป็นศาสตร์ที่สืบเนื่องมาจากแคลคูลัส (calculus) หัวข้อการทำวิจัยหลัก ได้แก่ ฟังก์ชันค่าจริง (real-valued functions) ฟังก์ชันตัวแปรเชิงซ้อน (complex-valued functions) ปริภูมิของฟังก์ชัน (spaces of functions) และเมเชอร์ (measures) ความเข้าใจเกี่ยวกับการวิเคราะห์และสมการเชิงอนุพันธ์เป็นสิ่งสำคัญเนื่องจากมักต้องนำไปใช้ในการศึกษาคณิตศาสตร์เชิงประยุกต์

เราขาคณิตและทอพอโลยีเป็นเป็นสาขาย่อยในกลุ่มวิจัยคณิตศาสตร์ที่ศึกษาเกี่ยวกับคุณสมบัติของรูปร่างของวัตถุ นักวิจัยในสาขาเรขาคณิตศึกษารูปทรงของวัตถุในมิติที่ซับซ้อนกว่าเรขาคณิตแบบยูคลิด (Euclidean geometry) ส่วนทอพอโลยีคือการศึกษาคุณสมบัติทางรูปทรงของวัตถุที่ยังคงเดิม แม้รูปร่างภายนอกจะเปลี่ยนแปลงไป รูปทรงของจักรวาลและเซลล์ในร่างกายมนุษย์ก็เป็นตัวอย่างของวัตถุทางเรขาคณิต (geometric objects) วิธีการทางเราขาคณิตและทอพอโลยียังสามารถนำไปใช้ในการจำลองภาพ big data ที่มีการสอนในหลักสูตร BSc Industrial Mathematics & Data Science อีกด้วย

วิยุตคณิต หรือคณิตศาสตร์ไม่ต่อเนื่องเป็นเป็นสาขาย่อยในกลุ่มวิจัยคณิตศาสตร์ที่ศึกษาเกี่ยวกับจำนวนที่ไม่ต่อเนื่อง และมักเกี่ยวข้องกับการนับ ทฤษฎีกราฟเป็นศาสตร์ที่ศึกษาเกี่ยวกับการเชื่อมโยงเครือข่าย สามารถนำไปใช้ในสาขาต่างๆ เช่น ฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา และสังคมศาสตร์ นอกจากนี้ผลการวิจัยด้านทฤษฎีกราฟยังสามารถช่วยให้เข้าใจโครงสร้างข้อมูล เครือข่ายการสื่อสาร และอัลกอริทึม (algorithm) ในวิทยาการคอมพิวเตอร์อีกด้วย

หลักสูตรที่เกี่ยวข้อง

บุคลากรในกลุ่มวิจัยคณิตศาสตร์บริสุทธิ์มีส่วนร่วมในการวิจัยในหลักสูตรต่อไปนี้:

  • วท.บ.คณิตศาสตร์
  • ปร.ด.คณิตศาสตร์

และยังเป็นผู้สอนรายวิชาพื้นฐานในหลักสูตรต่อไปนี้:

  • วท.บ.คณิตศาสตร์ประกันภัย
  • วท.บ.คณิตศาสตร์อุตสาหการฯ
  • วท.ม.คณิตศาสตร์ประยุกต์

ผลงานตีพิมพ์ล่าสุด

On the geometry of Cayley automatic groups

Berdinsky D, Elder M, Taback J

International Journal of Algebra and Computation, 2022

Multidimensional Fibonacci coding

Pooksombat P, Udomkavanich P, Kositwattanarerk W

Mathematics, 2022

Superbridge and bridge indices for knots

Adams C, Agarwal N, Allen R, Khandhawit T, Simons A, Winarski R

Journal of Knot Theory and Its Ramifications, 2021

Being Cayley automatic is closed under taking wreath product with virtually cyclic groups

Berdinsky D, Elder M, Taback J

Bulletin of the Australian Mathematical Society, 2021

The solutions of some Riemann–Liouville fractional integral equations

Kaewnimit K, Wannalookkhee F, Nonlaopon K, Orankitjaroen S.

Fractal and Fractional, 2021

บุคลากรในกลุ่มวิจัย

Chanun
ชนันท์ ลิ่วเฉลิมวงศ์
ผู้ช่วยศาสตราจารย์
(คณิตศาสตร์ทฤษฎี)

ข้อมูลเพิ่มเติม

Chaiwat
ชัยวัฒน์ มณีสว่าง
ผู้ช่วยศาสตราจารย์
(คณิตศาสตร์ทฤษฎี)

ข้อมูลเพิ่มเติม

Nattapong Bosuwan
ณัฐพงษ์ โบสุวรรณ
รองศาสตราจารย์
(คณิตศาสตร์ทฤษฎี)

ข้อมูลเพิ่มเติม

Tirasan Khandhawit
ธีรสรรค์ ขันธวิทย์
อาจารย์
(คณิตศาสตร์ทฤษฎี)

ข้อมูลเพิ่มเติม

Piyanan Pasom
ปิยนันท์ ผาโสม
อาจารย์
(คณิตศาสตร์ทฤษฎี)

ข้อมูลเพิ่มเติม

Pichkitti Bannangkoon
พิชญ์กิตติ บรรณางกูร
อาจารย์
(คณิตศาสตร์ทฤษฎี)

ข้อมูลเพิ่มเติม

Ruth Skulkhu
รู้ธ จ. สกุลคู
อาจารย์
(คณิตศาสตร์ทฤษฎี)

ข้อมูลเพิ่มเติม

Wittawat Kositwattanarerk
วิทวัชร์ โฆษิตวัฒนฤกษ์
ผู้ช่วยศาสตราจารย์
(คณิตศาสตร์ทฤษฎี)

ข้อมูลเพิ่มเติม

Somsak Orankitjaroen
สมศักดิ์ โอฬารกิจเจริญ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์
(คณิตศาสตร์ทฤษฎี)

ข้อมูลเพิ่มเติม

Dmitry Berdinsky
Dmitry Berdinsky
อาจารย์
(คณิตศาสตร์ทฤษฎี)

ข้อมูลเพิ่มเติม

better_photo_minh
Nguyen Van Sanh
Lecturer
(Theoretical Mathematics)