โครงสร้างหลักสูตร
คำอธิบาย
บัณฑิตที่จบจากหลักสูตรวท.บ.คณิตศาสตร์จะมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้
มีทักษะการคำนวณ มีการคิดอย่างมีเหตุผล เข้าใจหลักการทั่วไปและทฤษฎีบททางคณิตศาสตร์ สามารถแก้ปัญหาต่างๆ อย่างเป็นระบบและมีหลักการทางคณิตศาสตร์รองรับ
สามารถเขียนโปรแกรม ใช้งานโปรแกรมสำเร็จรูป หรือเทคโนโลยีสารสนเทศต่างๆ ในฐานะเครื่องมือช่วยแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์
มีความรู้เชิงลึกใน 5 สาขาย่อย ได้แก่ คณิตศาสตร์บริสุทธิ์ คณิตศาสตร์ประยุกต์ คณิตศาสตร์คอมพิวเตอร์ การวิจัยการดำเนินงาน และคณิตศาสตร์สถิติ โดยสามารถออกแบบส่วนผสมของรายวิชาที่สนใจจากสาขาย่อยต่างๆ ได้อย่างอิสระ
มีทักษะในการทำวิจัยทางคณิตศาสตร์ และการสื่อสารถ่ายทอดความรู้ต่อสาธารณชนได้อย่างเหมาะสม
รูปแบบย่อยของหลักสูตร
หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาคณิตศาสตร์มี 2 รูปแบบ ประกอบด้วยหลักสูตรปริญญาตรีทางวิชาการ เหมาะสำหรับนักศึกษาทั่วไปที่ต้องการเรียนจบไปทำงานหรือศึกษาต่อในสาขาที่หลากหลาย และหลักสูตรปริญญาตรีทางวิชาการแบบพิสิฐวิธาน เหมาะสำหรับนักศึกษาที่มีเป้าหมายในการศึกษาต่อหรือเป็นนักวิจัยทางคณิตศาสตร์โดยตรง
โครงสร้างหลักสูตรปริญญาตรีทางวิชาการ
โครงสร้างหลักสูตรสำหรับหลักสูตรปริญญาตรีทางวิชาการมีรายละเอียดดังนี้
นักศึกษาจะต้องลงเรียนวิชาในหมวดนี้ไม่น้อยกว่า 30 หน่วยกิต โดยวิชาในหมวดวิชาศึกษาทั่วไป ประกอบด้วยวิชาในกลุ่มภาษา ความรู้รอบตัวเพื่อการใช้ชีวิต การรักษาสุขภาพ การรู้ความเป็นไปของโลกปัจจุบันและเข้าใจพหุวัฒนธรรม
นักศึกษาจะต้องลงเรียนวิชาในหมวดนี้รวมทั้งสิ้น 91 หน่วยกิต โดยแบ่งเป็นวิชาแกน วิชาเฉพาะด้านบังคับ และวิชาเลือก
- วิชาแกน จำนวน 27 หน่วยกิต คือวิชาพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ ได้แก่ ฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา ทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติ
- วิชาเฉพาะด้านบังคับ จำนวน 43 หน่วยกิต คือวิชาพื้นฐานทางด้านคณิตศาสตร์โดยเฉพาะ รวมถึงการสัมมนาทางคณิตศาสตร์ และการทำโครงการวิจัย
- วิชาเลือก จำนวน 21 หน่วยกิต คือคือวิชาคณิตศาสตร์ในสาขาย่อย 5 ด้าน ได้แก่ คณิตศาสตร์บริสุทธิ์ คณิตศาสตร์ประยุกต์ คณิตศาสตร์คอมพิวเตอร์ คณิตศาสตร์สถิติ และคณิตศาสตร์ประกันภัย โดยนักศึกษาสามารถเลือกวิชาที่มุ่งเน้นในสาขาย่อยเพียงด้านเดียว หรือผสมกันมากกว่าหนึ่งด้านก็ได้
นักศึกษาจะต้องลงเรียนวิชาในหมวดนี้ไม่น้อยกว่า 6 หน่วยกิต โดยสามารถเลือกเรียนรายวิชาในหมวดวิชาศึกษาทั่วไปหรือในหมวดวิชาเฉพาะที่เปิดสอนในมหาวิทยาลัยมหิดล
โครงสร้างหลักสูตรปริญญาตรีทางวิชาการแบบพิสิฐวิธาน
โครงสร้างหลักสูตรสำหรับหลักสูตรปริญญาตรีทางวิชาการแบบพิสิฐวิธานมีรายละเอียดดังนี้
นักศึกษาจะต้องลงเรียนวิชาในหมวดนี้ไม่น้อยกว่า 30 หน่วยกิต โดยวิชาในหมวดวิชาศึกษาทั่วไป ประกอบด้วยวิชาในกลุ่มภาษา ความรู้รอบตัวเพื่อการใช้ชีวิต การรักษาสุขภาพ การรู้ความเป็นไปของโลกปัจจุบันและเข้าใจพหุวัฒนธรรม
นักศึกษาจะต้องลงเรียนวิชาในหมวดนี้รวม 92 หน่วยกิต โดยแบ่งเป็นวิชาแกน วิชาเฉพาะด้านบังคับ และวิชาเลือก
- วิชาแกน จำนวน 27 หน่วยกิต คือวิชาพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ ได้แก่ ฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา ทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติ
- วิชาเฉพาะด้านบังคับ จำนวน 48 หน่วยกิต คือวิชาพื้นฐานทางด้านคณิตศาสตร์โดยเฉพาะ โดยมีความแตกต่างกับหลักสูตรปริญญาตรีทางวิชาการ ที่วิชาโครงการวิจัย ทักษะทั่วไปเพื่อการวิจัยทางคณิตศาสตร์และสัมมนาขั้นสูง
- วิชาเลือก จำนวนไม่น้อยกว่า 17 หน่วยกิต โดยจะต้องประกอบด้วย 2 วิชาจากหลักสูตรบัณฑิตศึกษา (3 หน่วยกิต) หรือรายวิชาระดับปริญญาตรีที่มีความเข้มข้นทางวิชาการ (4 หน่วยกิต) นอกเหนือจากนั้นให้เลือกจากกลุ่มวิชาเลือกในสาขาย่อย 5 ด้าน เช่นเดียวกับในหลักสูตรปริญญาตรีทางวิชาการ
นักศึกษาจะต้องลงเรียนวิชาในหมวดนี้ไม่น้อยกว่า 6 หน่วยกิต โดยสามารถเลือกเรียนรายวิชาในหมวดวิชาศึกษาทั่วไปหรือในหมวดวิชาเฉพาะที่เปิดสอนในมหาวิทยาลัยมหิดล
ข้อมูลเบื้องต้น
- ระยะเวลาการศึกษา: 4 ปี
- สถานที่ศึกษา: ม.มหิดล พญาไท
- รอบการศึกษาถัดไป: ส.ค. 66